เปิด 4 วิธีการปรับสภาพน้ำ ตัวช่วยขจัดเชื้อโรคในสระว่ายน้ำ 

การปรับสภาพน้ำ

การปรับสภาพน้ำในสระว่ายน้ำ เป็นอีกหนึ่งวิธีการดูแลสระว่ายน้ำ ทำให้น้ำใสสะอาด มั่นใจได้ว่าปลอดภัยต่อสุขภาพของผู้ใช้งาน ไม่เสี่ยงต่อโรคที่เกิดจากแบคทีเรียในสระว่ายน้ำ เช่น โรคทางเดินหายใจ โรคติดเชื้อทางเดินอาหาร โรคตาแดง เป็นต้น โดยวิธีการปรับสภาพน้ำในสระนั้น ทำได้ด้วย 4 วิธีนี้ 

1. วัดค่าสระว่ายน้ำ

การระวังน้ำในสระว่ายน้ำไม่ให้เกิดสิ่งสกปรกเป็นเรื่องสำคัญ จึงต้องมีการเติมสารเคมีลงในสระเพื่อขจัดเชื้อโรค และเมื่อมีสารเคมีเข้ามาเกี่ยวข้อง ก็ต้องมีการควบคุมไม่ให้เกิดอันตรายกับผู้ใช้ จึงต้องมีการวัดค่าสระว่ายน้ำ ก่อนทำการปรับสภาพน้ำอยู่เสมอ

1.1 ค่า pH 

วัดความเป็นกรด – ด่างของน้ำ โดยต้องทำให้ค่า pH สมดุลอยู่เสมอ เพื่อรักษาประสิทธิภาพคลอรีน ทำให้น้ำใสอยู่เสมอ รวมถึงป้องกันการระคายเคืองทางผิวหนัง ซึ่งค่า pH ที่เหมาะกับการปรับสภาพน้ำควรอยู่ระหว่าง 7.2 – 7.6

1.2 ค่าคลอรีน

ค่าคลอรีนอิสระต้องอยู่ในระดับที่เหมาะสม หากต่ำเกินไปอาจขจัดเชื้อโรคได้ไม่หมด แต่ถ้ามากเกินไปก็อาจส่งผลกับสุขภาพของผู้ใช้ โดยค่าคลอรีนที่เหมาะสมสำหรับการปรับสภาพน้ำสระว่ายน้ำในบ้าน 1.0 PPM ส่วนสระบริการจะอยู่ที่ 1.5 – 2.0 PPM

1.3 ค่าไซยานูไรด์

กรดไซยานูไรด์ เป็นสารที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของคลอรีนให้มีอายุยาวนานขึ้น แต่ควรอยู่ในปริมาณที่พอเหมาะ หากสูงเกินไปอาจส่งผลต่อสุขภาพผู้ใช้สระว่ายน้ำได้ ค่าไซยานูริกที่เหมาะสม สำหรับสระว่ายน้ำปกติอยู่ที่ 20 – 40 PPM ส่วนสระว่ายน้ำเค็มจะเป็น 60-80 PPM 

1.4 ค่าความกระด้าง

การวัดค่าความกระด้าง เป็นการวัดปริมาณแคลเซียมและแมกนีเซียมในสระว่ายน้ำ โดยค่ามาตรฐานจะอยู่ระหว่าง 200 – 400 PPM ซึ่งเป็นค่าที่เหมาะสมกับการปรับสภาพน้ำในสระว่ายน้ำทั้งระบบคลอรีนและระบบเกลือ

1.5 ค่าความเป็นด่างรวม

เป็นการวัดปริมาณสารประกอบที่ช่วยรักษาค่า pH ในสระว่ายน้ำเอาไว้ โดยค่ามาตรฐานนั้นต้องอยู่ระหว่าง 80 – 120 PPM 

การวัดค่าสระว่ายน้ำ สามารถใช้ชุดตรวจวัดค่าต่าง ๆ ของสระว่ายน้ำ ที่จะมีจำหน่ายอยู่ตามร้านผลิตภัณฑ์สารเคมีสำหรับการปรับสภาพน้ำทั่ว ๆ ไป หรือให้ช่างสระว่ายน้ำมาตรวจวัดเพื่อความแม่นยำก็ได้เช่นเดียวกัน

2. การปรับสภาพเคมีในสระว่ายน้ำ

2.1 เติมคลอรีน

ฆ่าเชื้อโรคให้กับน้ำในสระน้ำด้วยคลอรีนผง (Calcium Hypochlorite) หรือคลอรีนเหลว (Sodium Hypochlorite) โดยควรเติมผงคลอรีนเพื่อปรับสภาพน้ำในช่วงเย็นหรือช่วงหัวค่ำ เพื่อลดการระเหยจากแดด และควรเติมคลอรีนทุกวันเพื่อลดการสะสมของแบคทีเรียที่เกิดขึ้นได้ทุกวัน

2.2 ค่า pH 

  • ต่ำกว่า 7.2 แสดงว่าต่ำเกินไป ถือว่าเป็นกรด ส่งผลให้ระคายเคืองผิวและตาผู้ใช้ ควรเติมโซเดียมคาร์บอเนต (Soda Ash) เพิ่มในปริมาณ 1 กิโลกรัม ต่อน้ำในสระ 100 ลบ.ม.
  • สูงว่า 7.6 แสดงว่าสูงเกินไป น้ำจะขุ่น มีตะกอน ทั้งยังระคายเคืองตา ควรใช้กรดไฮโดรคลอริก หรือกรดซัลฟูริก เติมเพื่อปรับลด ในปริมาณ 1 ลิตร ต่อน้ำในสระ 100 ลบ.ม.

การปรับสภาพเคมี เป็นวิธีการปรับสภาพน้ำที่ต้องใช้ความแม่นยำพอสมควร มือใหม่ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญในการช่วยปรับค่าทางเคมี เพื่อสุขภาพและความปลอดภัยของผู้ใช้สระว่ายน้ำ

3. การกรองและหมุนเวียนน้ำ

การกรองและหมุนเวียนน้ำ เป็นวิธีการปรับสภาพน้ำในสระว่ายน้ำที่ทำได้ไม่ยาก แต่ต้องใช้เวลา โดยเปิดระบบกรองน้ำไว้อย่างน้อยราว ๆ 8–12 ชั่วโมงต่อวัน เพื่อให้น้ำสะอาด หากใช้ระบบทราย จะต้องล้างไส้กรองบ่อย ๆ เพื่อลดการสระสมสิ่งสกปรก นอกจากนี้ อย่าลืมตรวจสอบและล้างตะกร้ากรองเศษสิ่งสกปรกในปั๊ม เพื่อให้เครื่องปั๊มทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วย

4. การกำจัดตะไคร่และคราบในสระว่ายน้ำ

ตะไคร้หรือสาหร่ายเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้น้ำในบ่อมีสีเขียว ควรปรับสภาพน้ำให้ใสขึ้นด้วยการทำความสะอาดตะไคร้ที่เกาะตามกระเบื้องสระว่ายน้ำ โดยใช้ผลิตภัณฑ์เคมี และขัดผนังสระเอาคราบต่าง ๆ ออก พร้อมเดินระบบกรอง และปรับปริมาณคลอรีนเพิ่มขึ้นด้วยคลอรีนน้ำ

การปรับสภาพน้ำในสระว่ายน้ำ บางขั้นตอนสามารถทำเองได้ แต่บางวิธีการก็จำเป็่นต้องปรึกษาหรือพึ่งพาผู้เชี่ยวชาญ เนื่องจากต้องใช้ความแม่นยำมากพอสมควร โดยเป็นวิธีการที่แม้จะยุ่งยากก็ไม่ควรละเลย เพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้สระว่ายน้ำ 

หากต้องการปรึกษาเกี่ยวกับการดูแลสระว่ายน้ำ สามารถปรึกษาเพิ่มเติมกับทาง poolspt pool cleaning service ได้ เราพร้อมให้คำปรึกษาและตรวจสอบหน้างานให้ฟรี เพื่อตรวจสอบสาเหตุของปัญหา ก่อนเริ่มใช้บริการ